เวลาทำการ : วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.

เขตปกครองพิเศษ ย็อกยาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ข้อตกลงว่าด้วยการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือฉันมิตรเมืองพี่เมืองน้อง เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในกรอบ EATOF ASEAN และ Civilization Trail และด้านการศึกษาวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตร สินค้าหัตถกรรม

 

ข้อมูลพื้นฐานประเทศอินโดนีเซีย
ลักษณะทางภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง : ประเทศอินโดนีเซียตั้งอยู่ใต้สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะเป็นหมู่เกาะ วางตัวทอดยาวไปตามเส้นศูนย์สูตร รูปร่างคล้ายพระจันทร์เสี้ยวหงาย นอกจากจะเป็นจุดแบ่งทวีปเอเชียแล้ว ยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกอีกด้วย

พื้นที่ : 5,193,250 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 2,027,087ตร.กม. ทะเล 3,166,163 ตร.กม.

ดินแดนอาณาเขต : พรมแดนทั้งหมดยาว 2,830 กิโลเมตร ตะวันออกติดติมอร์-เลสเต 228 กิโลเมตร และปาปัวนิวกินี 820 กิโลเมตร เหนือติดทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ตะวันตกเฉียงใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย และทิศใต้ติดทะเลติมอร์

เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา

ภูมิอากาศ : อินโดนีเซียมีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)

ภูมิประเทศ : เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Irian)

ลักษณะประชากร
ประชากร : 251,160,124 คน

สัญชาติ : ชวา 40.6% Sudanese 15% Madurese 3.3% Minangkabau 2.7% Betawi 2.4% Bugis 2.4% Banten 2% Banjar 1.7% และอื่นๆ หรือไม่ระบุ 29.9%

ศาสนา : อิสลาม 86.1% โปรแตสเตนท์ 5.7% โรมันคาทอลิก 3% ฮินดู 1.8% และอื่นๆ หรือไม่ระบุ 3.4%

ภาษา : ภาษาราชการ คือ บาฮาซา อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) ภาษาอื่นๆ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ดัทช์ ภาษาชวา

ด้านการศึกษา : ร้อยละ 90 ของประชากรสามารถอ่านออกเขียนได้ อินโดนีเซียมีมหาวิทยาลัยของรัฐ 49 แห่ง และของเอกชนกว่า 950 แห่งระบบการศึกษาในโรงเรียนของอินโดนีเซีย ประกอบด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาชั้นมัธยมและการศึกษาระดับสูง และยังมีการศึกษาก่อนวัยเรียนเพื่อเตรียมควมพร้อมของเด็ก

ด้านวัฒนธรรม : วัฒนธรรมประเพณีของชาวอินโดนีเซีย แตกต่างไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของประชากรใน แต่ละท้องถิ่น อาทิเช่น วายัง กูลิต (Wayang Kulit) : ระบำบารอง (Barong Dance) : ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ 

รูปแบบการปกครอง
สาธารณรัฐ (Republic) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

นโยบายเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญในอดีตเศรษฐกิจของอินโดนีเซียพึ่งพาการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก แต่หลังเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันใน ตลาดโลกอินโดนีเซียจึงหันมาพัฒนาอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ ประกอบรถยนต์ และการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้และแร่ธาตุต่างๆ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก และเหล็ก รวมทั้งมีภูมิประเทศที่เอื้อต่อการทำประมงจับสัตว์น้ำและทำเกษตรกรรม โดยปลูกพืชแบบขั้นบันได

วันที่:

4 กันยายน 2550

สถานะ:

ลงนามแล้ว

ระดับกิจกรรม:

จังหวัด

ประเภท:

MOU

จังหวัด:

เชียงใหม่

ประเทศคู่ลงนาม:

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

สถานที่ลงนาม:

ณ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้ลงนาม:

นายวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์
เฮมเมงกู บูโวโน ที่ 10

Last updated by
นางสาว มนธิชา สุขเสาร์
22 เมษายน 2567

เอกสาร & ไฟล์อ้างอิง

จำนวนผู้ชม
3108

แบ่งปัน